เคล็ดลับในการเลือกซื้อเมนบอร์ด
สำหรับนักประกอบคอมพิวเตอร์มือใหม่หรือผู้ที่แค่ใช้งานทั่วไปอาจจะไม่รู้ว่าเมนบอร์ดนั้นส่งผลอย่างไรต่อคอมพิวเตอร์บ้าง เลยคิดว่าเป็นชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มีความสำคัญหากเลือกซื้อก็อาจจะเลือกแค่ตัวที่มีราคาถูกไปก็พอคงใช้งานได้เหมือนกัน แต่ในความจริงแล้วจะไม่ใช่อย่างนั้นซะทีเดียวแล้วมันแตกต่างกันอย่างไร มีวิธีการเลือกซื้อแบบไหนวันนี้จะมาอธิบายให้ฟังกัน
ข้อแตกต่างระหว่างเมนบอร์ดราคาประหยัด VS เมนบอร์ดราคาแพง
ก่อนที่จะไปดูวิธีการเลือกซื้อเมนบอร์ดเราต้องรู้ก่อนว่าข้อแตกต่างระหว่างเมนบอร์ดราคาประหยัดและเมนบอร์ดราคาแพงนั้นมีข้อแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
Port ในที่นี้คือสิ่งที่รวมทุกอย่างที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเข้ากับตัวเมนบอร์ดไม่ว่าจะเป็น RAM, M2 SSD หรือ Port USB ข้อแตกต่างก็คือหากเป็นราคาประหยัดอาจจะมีช่องสำหรับอุปกรณ์หรือฟังก์ชันและตัวเลือกต่างๆ น้อยกว่าเมนบอร์ดที่มีราคาแพง
คุณภาพของเมนบอร์ด ทั้งวัสดุที่ใช้ในการผลิต ภาคจ่ายไฟ การ์ดแลน การ์ดเสียงหรือฟังก์ชันอื่นๆ ซึ่งถ้าหากวัสดุดีก็จะส่งผลไปถึงประสิทธิภาพการทำงาน ความคงทน ความร้อน เป็นต้น
วิธีการเลือกเมนบอร์ด
ต้องรู้ชิปเซต (Chipset) และซ็อคเกต (Socket)
ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ควรรู้ก่อนที่จะเลือกซื้อเมนบอร์ดเนื่องจากตัวชิปเซตจะเป็นส่วนที่ซีพียูใช้ในการรับส่งข้อมูลต่างๆ กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ทั้ง แรม SSD เป็นต้น ส่วนตัวซ็อคเกต จะเป็นเหมือนช่องสำหรับใส่ซีพียูถ้าหากไม่ตรงรุ่นกันอาจจะไม่สามารถใช้ซีพียูได้นั้นเอง
Intel: จะมีการเปลี่ยนซ็อคเกตค่อนข้างบ่อยเพราะแต่ละรุ่นจะมีการพัฒนาประสิทธิภาพของตัวซีพียูให้มากขึ้นซึ่งแต่ละ Gen ก็จะใช้ซ็อคเกตคนละรุ่นกันและจะไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้
AMD: ค่ายนี้จะไม่เปลี่ยนซ็อคเกตมากนักโดยแต่ละรุ่นจะใช้นานซึ่งจะถือว่าเป็นข้อดีของผู้ที่ต้องการเซฟงบประมาณเพราะซื้อเมนบอร์ดตัวหนึ่งจะสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานนั้นเอง
ขนาดของเมนบอร์ด (Form Factor)
บางครั้งเมนบอร์ดรุ่นเดียวกันแต่ราคาอาจจะต่างกันเพราะแต่ละรุ่นจะมีขนาดของ Form Factor แตกต่างกันไป ขนาดของเมนบอร์ดจะมีความสำคัญต่อจำนวนพอร์ตภายในเมนบอร์ดด้วย
RAM และ M.2 Slot
หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่ามีเยอะๆจะดีไหม ก็จะขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณหากคิดว่าจะไม่ค่อยได้อัพเกรดบ่อยๆ 2 สล็อตก็เพียงพอ แต่ถ้าคิดว่าในอนาคตจะมีการอัพเกรดเพิ่มเติมก็เลือกแบบ 4 สล็อตได้เพื่อช่วยให้การอัพเกรดขอบคุณง่ายขึ้นซึ่งจะรวมไปถึง M.2 ด้วย
PCle/SATA Lane
บางทีการใช้งาน SSD ที่มีความเร็วสูงเกิน 3000 Mb/s แต่เวลาใช้งานจริงวิ่งอยู่ที่ 800-1500 Mb/s ต้องย้อนกลับไปดูที่ชิปเซตว่าสเปคเท่าไหร่มีการซัพพอร์ต M.2 ที่ความเร็วเท่าไหร่บ้าง
Special Feature Options
ออฟชั่นเสริมก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการเลือกซื้อเมนบอร์ด เพราะว่าผู้ที่มาซื้อก็อยากได้ฟีเจอร์เสริมเพื่อมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเช่น ฟีเจอร์ป้องกันไฟกระชาก คุณภาพของภาคจ่ายไฟ Sync RGB บนเมนบอร์ด เป็นต้น